โรงเรียนดงเย็นพิทยาคาร สพม.อุดรธานี

Home แนวทางมาตรฐานสากล

แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล

อีเมล พิมพ์ PDF
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล
ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้สังคมโลกมีการลื่นไหลระหว่างวัฒนธรรมมากขึ้น การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยเป็นที่นิยม ยอมรับกันทั่วโลก ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนโลกบนพื้นฐานของศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกัน

การขับเคลื่อนกลยุทธ์
  สร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลกด้วยการพัฒนาหลักสูตรและการสอนการบริหารคุณภาพระดับมาตรฐานสากล

การพัฒนาหลักสูตรและการสอน
  ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในประเทศไทยมีการพัฒนาหลักสูตรและการสอนให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนในหลายรูปแบบโดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันและทัดเทียมนานาประเทศซึ่งมีหลักสูตรและการสอนที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายการ

บริหารจัดการระบบคุณภาพ
  การบริหารจัดการระบบคุณภาพ เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้เกิดคุณลักษณะต่อการจัดการเรียนการสอน อันจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนอันเป็นเป้าหมายปลายทางของการจัดการศึกษา

การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน
การสร้างเครือข่ายและโรงเรียนร่วมพัฒนาเพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานากล เป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมสรรพกำลังเพื่อสร้างความร่วมมือกับองค์กรและเครือข่าย ให้ร่วมกันขับเคลื่อนมุ่งไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล

การนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
การนิเทศเพื่อสร้างความตระหนักและวางแผนขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จึงถือเป็นภารกิจสำคัญอันดับแรกที่เครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา (ศน.ม.) ทั่วประเทศจะนำโรงเรียนไปสู่เป้าหมายความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล

แนวทางการจัดการเรียนรู้มาตรฐานสากล
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)หมายถึง โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนมุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Learner Profile) เทียบเคียงมาตรฐานสากล(World-Class Standard) ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World citizen)พัฒนายกระดับคุณภาพจัดการเรียนการสอนและการจัดการด้วยระบบคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานสากลเป็นการต่อ ยอดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นมาตรฐานชาติ (ตามที่โรงเรียนทุกโรงจะต้องดำเนินการ เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาโดย สมศ. ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2545)

มัธยมศึกษายุคใหม่ สู่มาตรฐานสากล 2561
ยึดหลักการที่ว่าระบบการศึกษาและระบบการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการพัฒนาประเทศซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบอื่นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมเป็นต้น ดังนั้นจึงเน้นการปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบระบบการศึกษา ประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ครู หลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการสร้างและถ่ายทอดความรู้ ประเด็นสำคัญในการปฏิรูปคือการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างยั่งยืน เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่าระบบการเรียนรู้ คือระบบที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีความสามารถคิด วิเคราะห์แก้ปัญหา มีคุณธรรมนำความรู้ โดยอาจอยู่ในระบบหรือนอกระบบการศึกษาและมีปัจจัยและเครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและเต็มตามศักยภาพ

มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางและให้ความสำคัญของมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษาฉบับนี้ โดยมุ่งหวังให้โรงเรียนมัธยมศึกษาได้ใช้เป็นคู่มือในการประเมินความจำเป็นพื้นฐาน เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงสุด รวมทั้งเป็นเครื่องมือให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้ในการบริหารจัดการและสนับสนุนให้โรงเรียน พัฒนาเข้าสู่มาตรฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามสภาพที่แท้จริงของโรงเรียน
 

แก้ไขล่าสุด ( วันอังคารที่ 03 กรกฏาคม 2012 เวลา 16:26 น. )  

Main Menu

มุมผลงานของครู-อาจารย์


.:: FACEBOOK PAGE โรงเรียนดงเย็นพิทยาคาร อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ::.